รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน

รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน จัดโดย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

ด้วยสื่อมวลชนเป็นบุคคลที่ควรได้รับการยกย่อง สื่อทำหน้าที่เป็นครูที่ดีในการร่วมกันบ่มเพาะคนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น  จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้สื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบผลงานรางวัลสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสร้างความตระหนักให้กับคนในสังคม และสื่อมวลชนจะได้มีพลังในการยืนหยัดที่จะทำงานเพื่อปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป

รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565

‘รางวัลชมเชย’ รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์

“เรามีหวังเสมอว่าจะได้กลับบ้าน” เสียงจากริมน้ำเมย ชะตากรรมที่เลือกไม่ได้ของผู้หนีภัยกะเหรี่ยง

โดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา และ เมธิชัย เตียวนะ

“‘สงคราม’ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนหรือครั้งไหนในโลก คนที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดย่อมเป็นประชาชนที่ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับการก่อสงคราม

“ตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนความจริงข้อนี้ได้ดีอยู่ไม่ไกลจากบ้านเรา เพียงแค่มองข้ามพรมแดนไปที่รัฐกะเหรี่ยงบนแผ่นดินพม่า ที่ตกอยู่ภายใต้สงครามกลางเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นสงครามกลางเมืองที่ยาวนานที่สุดในโลก และผลผลิตของมันก็คือ ‘ผู้หนีภัยสงคราม’ จากรุ่นสู่รุ่นจำนวนมหาศาลที่หลั่งไหลมาสู่ประเทศไทย

“แม้จะหนีพ้นความโหดร้ายของสงครามบนแผ่นดินเกิดมาได้แล้ว แต่ไม่ว่าจะกี่รุ่นต่อกี่รุ่น พวกเขายังต้องเจอเคราะห์กรรมชั้นที่สองจากการถูกปฏิบัติอย่างไม่คำนึงถึงมนุษยธรรมจากทางการไทย โดยรากของปัญหานี้ก็คืออคติบางอย่าง รวมทั้งกรอบคิดความมั่นคงแบบเดิมๆ ซึ่งผมเชื่อว่าหากกำแพงแห่งอคตินี้ถูกทลายลงไปได้ ประเทศไทยอาจจะพบหนทางแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายอย่างง่ายดายยิ่งขึ้น

“นี่แหละครับคือเป้าหมายสูงสุดของผลงานชิ้นนี้ ถ้าในที่สุดบทความนี้ช่วยให้ทางการไทยและคนไทย ต่อให้จะแค่คนเดียวก็ตาม สามารถปรับความคิด เปลี่ยนมุมมอง และสร้างความเข้าใจใหม่ต่อผู้หนีภัยสงครามได้ ผมก็ถือว่าบทความนี้ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างสำเร็จแล้ว” – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

‘รางวัลดีเด่น’ รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์

From Trojan Horse to Pegasus: When the Big Brother is watching you

โดย กองบรรณาธิการ

ณรจญา ตัญจพัฒน์กุล เรื่อง เมธิชัย เตียวนะ, กอบบุญ บูรโชควิวัฒน์ วิดีโอ

“การใช้อำนาจรัฐสอดส่องเพื่อคุกคามต่อผู้ที่ออกมาใช้สิทธิในการแสดงออกทางการเมือง แสดงความเห็นทางการเมือง หรือวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลนั้นไม่ใช่สิ่งใหม่ในสังคมไทย แต่การใช้เทคโนโลยีสปายแวร์อย่างเพกาซัสยิ่งเอื้อให้การใช้อำนาจสอดส่องแนบเนียนยิ่งขึ้น แยบยลยิ่งขึ้น และความแยบยลนั้นคือสิ่งที่น่ากลัวที่สุด เพราะเราแทบจะไม่มีทางรู้ตัวว่าใครที่ถูกสอดส่องอยู่

“แม้ว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเจาะโดยเพกาซัสจะเป็นเพียงกลุ่มคนเล็กๆ ในสังคมเท่านั้น แต่เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้คือผู้ที่ลุกขึ้นมาใช้สิทธิของตนเพื่อเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงและพูดความจริงต่ออำนาจ ความหวาดกลัวไม่ได้เกิดขึ้นกับพวกเขาเท่านั้น แต่นั่นยังทำให้สังคมหวาดกลัว หวาดระแวงที่จะคิด ที่จะพูด และเมื่อใดที่สังคมตกอยู่ในความกลัว สังคมที่มีความกลัว ความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าจะไม่มีทางเกิดขึ้น” – ณรจญา ตัญจพัฒน์กุล

“กลับไปดูโน้ตที่จดไว้ตอนเริ่มคิดจะทำเรื่องนี้ แล้วก็นึกอย่างหนึ่งขึ้นมาได้ จริงๆ ผมกับทีมแค่ไปหยิบจับเรื่องราวมาเล่าต่อ หัวใจของเรื่องจริงๆ คือกลุ่มคนที่ลงแรงในการสืบเสาะเรื่องนี้ขึ้นมาทำให้เราได้รู้ว่าเปกาซัสสปายแวร์มันอยู่ใกล้เรามากๆ มันไม่เห็นในหนังสายลับที่เราดูตอนเด็กๆ วันนี้มันมาอยู่ในระยะที่ใกล้เรามากๆ แล้ว อยากจะขอบคุณทุกคนที่ทำงานเบื้องหลังเรื่องนี้” – เมธิชัย เตียวนะ

‘รางวัลชมเชย’ รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์

ชุมชนตึกร้าง 95/1: หลากชีวิตบนซากคอนกรีต

โดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย และ เมธิชัย เตียวนะ

“ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยยังเป็นปัญหาสำคัญของคนประเทศไทย โดยเฉพาะผู้อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ ยังมีผู้คนอีกจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ ยังเข้าไม่ถึง ‘บ้าน’ ที่เป็นบ้าน แม้จะมีความพยายามแก้ปัญหา แต่ก็ดูเหมือนว่ายังมีคนที่ตกหล่นอยู่พอสมควร

“ผลงานเรื่อง ‘ชุมชนตึกร้าง 95/1 หลากชีวิตบนซากคอนกรีต’ ไม่เพียงแค่อยากนำเสนอชีวิตของผู้ที่อาศัยอยู่ในตึกร้างเก่าคร่ำคร่าเท่านั้น แต่ยังอยากชวนมองไปไกลถึงวิธีแก้ปัญหาเรื่องที่อาศัยในมุมใหม่ เป็นไปได้แค่ไหนที่ภาครัฐจะเข้ามาร่วมกับเอกชน ปรับปรุงตึกร้างให้กลายเป็นที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพดี แล้วปล่อยเช่าหรือซื้อในราคาเข้าถึงได้ เหมือนที่แหล่งข่าวในเรื่องนี้บอกว่า “ไม่มีใครอยากบุกรุกที่ไปตลอดชีวิต”

“แม้เรื่องนี้จะยังเป็นข้อเสนอ แต่ไม่มากก็น้อย คิดว่าเป็นข้อเสนอที่ควรรับฟัง ทั้งนี้ต้องขอบคุณมูลนิธิอิสรชนที่อำนวยความสะดวกในการลงพื้นที่และกล่าวถึงประเด็นข้อเสนอนี้ด้วย

“บรรยากาศทึมเทาของตึกร้าง อาจชวนให้เรานึกถึงเรื่องผีสางและความน่ากลัว แต่วิถีชีวิตของใครหลายคนชี้ให้เราเห็นว่า ผีแท้จริงที่อบอวลอยู่ทั่วกลุ่มอาคารร้างไม่ใช่ใดอื่น นอกจากความยากจน” – ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

‘รางวัลดีเด่น’ รางวัลภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” สำหรับสื่อมวลชน

ภาพถ่ายเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนกีดกันช่างภาพข่าวออกจากพื้นที่ระหว่างการสลายการชุมนุมของราษฎรหยุด APEC

โดย เมธิชัย เตียวนะ

“ผมคิดว่าภาพนี้ได้ทำหน้าที่เล่าความรู้สึกเพื่อนๆ ช่างภาพภาคสนามไปโดยสมบูรณ์แล้ว

“จริงๆ แล้วภาพนี้เป็นภาพที่ธรรมดามากๆ เพียงแค่เราในฐานะช่างภาพไม่ค่อยได้ยืนในมุมนี้บ่อยนัก ที่ผ่านมาเราอยู่ในมุมของพี่ในภาพมากกว่า หมายถึงเรามักจะเจอนิ้วชี้ที่ชี้มาที่เราบอกว่า “ถอยไป” เราเจอปลายกระบอกปืนหันมาหาเราและบอกเช่นเดิมว่า “ออกไป”

“ขอบคุณสำหรับรางวัล และเป็นกำลังใจให้เพื่อนพี่ๆ ในสนามด้วยครับ”- เมธิชัย เตียวนะ

รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2564


‘รางวัลชมเชย’ ประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์

หัวอกลูก หัวใจแม่ : 112 กับความล่มสลายของครอบครัว

โดย วจนา วรรลยางกูร

วจนา วรรลยางกูร ฉายภาพครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากคดี 112 ถึงความทุกข์ทนระหว่างการรอคอยกระบวนการอันยืดยาว ลูกวัยมัธยมที่ขาดที่พึ่ง และสิ่งสำคัญในชีวิตที่สูญหายอย่างไม่อาจเรียกคืน

รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2563


‘รางวัลชมเชย’ ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์

จากชายแดนใต้ถึงเราทุกคน ‘ความรุนแรงต่อผู้หญิงจะต้องยุติ

โดย ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์

สำรวจปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง ผ่านเรื่องราวของชายแดนใต้ และ ‘ศูนย์บริการให้คำปรึกษาเสริมพลังสตรี’ ศูนย์ที่ผู้หญิงให้คำปรึกษาแก่ผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง

ที่สามจังหวัดชายแดนใต้ สถานที่ที่ผู้คนเลือกมองความรุนแรงในพื้นที่เป็นภาพหลัก แต่อีกความรุนแรงที่ดำเนินไปควบคู่กันคือความรุนแรงต่อผู้หญิง สำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดนราธิวาสที่เคยมีแต่ผู้ชาย เกิดมุมเล็กๆ ของผู้หญิงที่คอยทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง ในนาม ‘ศูนย์บริการให้คำปรึกษาเสริมพลังสตรี’ พื้นที่ปลอดภัยเล็กๆ นี้ทำให้ผู้หญิงมากมายตรงเข้ามาส่งเสียง ได้ไกล่เกลี่ยกับสามี และบ้างดำเนินการหย่าได้สำเร็จ จนสำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดยะลาเริ่มดำเนินการตามโมเดลนี้ในปีถัดมา


‘รางวัลดีเด่น’ ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์

50 ปีหลังมนุษย์เหยียบดวงจันทร์ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยยังอยู่ที่เดิม

โดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย และ เมธิชัย เตียวนะ

“ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยอยู่กับสังคมไทยมายาวนานและมีมาถึงปัจจุบัน เด็กหลายแสนชีวิตต้องติดอยู่กับกับดักความยากจนและต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา หลายคนไม่มีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาที่ดี ไม่มีสิทธิที่จะมีชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับ

“สารคดีนี้ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตผู้คนที่ยังต้องอยู่กับความทุกข์ความลำบาก เด็กหลายคนต้องอยู่ในบ้านสังกะสี ไม่มีสมาธิเรียนเพราะไม่ได้กินข้าวตั้งแต่เมื่อคืน นี่เป็นเรื่องที่สังคมต้องแก้ไข เพื่อให้ผู้คนมีอนาคตที่ดีขึ้น อยากขอหยิบประโยคปิดท้ายในสารคดีนี้ขึ้นมากล่าวคือ ‘เด็กจะวิ่งเหมือนธนู ถ้ามีพื้นที่ให้วิ่ง’” – ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย


‘รางวัลชมเชย’ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์

101 Gaze Ep.1 ‘โคตรคนกอง อึดทะลุคิว’

โดย ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์, กมลชนก คัชมาตย์ และ ฟ้าใหม่ พงศกรเสถียร

‘โคตรคนกอง อึดทะลุคิว’ สำรวจปัญหาการทำงานกองถ่าย ผ่านมุมมองของผู้ทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ตั้ม-พวัสส์ สวัสดิ์ชัยเมธ ผู้ออกแบบงานสร้างภาพยนตร์ (Production Designer) ไก่-ณฐพล บุญประกอบ ผู้กำกับภาพยนตร์ และ ปั๊ป-ภิไธย สมิตสุต ผู้กำกับภาพ

เวลาการทำงานต่อกันหลายสิบชั่วโมงจนต้องอดหลับอดนอน คิวการถ่ายทำที่อัดแน่น วันต่อวัน คืนต่อคืน นี่คือสภาพการทำงานที่ท้าทายขีดจำกัดของ ‘คนกอง’ หรือคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ตลอดมา และเมื่อถึงคราวที่วายร้ายอย่าง ‘โควิด’ เข้ามาเปลี่ยนทุก scene บนโลกไปอย่างฉับพลัน พวกเขาต้องเจอกับอะไร สภาพการทำงานที่แสนสาหัสจะถูกซ้ำเติมหรือไม่

หนทางใดจะเป็นทางออกเพื่อกู้หัวใจ ความเป็นธรรม และสวัสดิภาพในการทำงานของคนกองให้ดีขึ้น!

รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2562



‘รางวัลดีเด่น’ ในหมวดข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์

ประเทศไร้ใบหน้า ผู้คนไร้แผ่นดิน ตามหาความเป็นมนุษย์ในคำว่า ‘ชาติ’

โดย วจนา วรรลยางกูร

มองปัญหาผู้ลี้ภัยที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยผ่านหลากตัวละคร อันสะท้อนความบกพร่องของรัฐไทยที่ยังไม่ให้ความสำคัญต่อคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างเพียงพอ

ทั้งผู้ลี้ภัยประเทศอื่นที่เดินทางมาไทยและผู้ลี้ภัยไทยที่เดินทางไปประเทศอื่น ถูกมองจากรัฐไทยในฐานะ ‘ความเป็นอื่น’ ไม่แตกต่างกัน ซึ่งมาพร้อมแนวทางการปฏิบัติที่นำไปสู่การปราบปรามและจับกุม โดยมองข้ามการคุ้มครองตามหลักมนุษยธรรม

รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2561



‘รางวัลชมเชย’ ในหมวดข่าวและสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อออนไลน์

สารคดี ‘เปิดตาตีหม้อ : สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด’

โดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด เป็นหนึ่งในสี่ตอน ของ 101 Spotlights ‘ม้า-มวย-หวย-หม้อ’ ที่ลัดเลาะไปตามพื้นที่แห่งความบันเทิงและการพนัน ตั้งแต่แยกนางเลิ้งจรดสนามหลวง สถานที่เหล่านี้เป็นมาและเป็นไปอย่างไร มีอะไรอยู่ในนั้น ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย ลงไปดูวิถีชีวิตของผู้คนที่สะท้อนภาพบางมุมของสังคมไทย


‘รางวัลชมเชย’ ในหมวดข่าวและสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อออนไลน์

In The Name Of The Mother เปลวเพลิงในดวงตาพะเยาว์ อัคฮาด

โดย ธิติ มีแต้ม

8 ปีมาแล้วที่พะเยาว์ อัคฮาด แม่ผู้ยืนหยัดเรียกร้องความยุติธรรมหลังความตายของลูกสาวที่เคยยืนหยัดทำหน้าที่อาสาพยาบาลในแดนสังหารจนจากไปก่อนวัยอันควร

เธอคิดถึงลูกสาว แต่ทำได้แค่นั่งมองใบหน้าของผู้เป็นดวงใจในกรอบรูปจากโซฟาเก่า ลูกสาว-กมนเกด อัคฮาด ผู้ถูกยิงเสียชีวิตภายในวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ในขณะช่วยชีวิตคนอื่นที่กำลังวิ่งหลบห่ากระสุนที่สาดใส่เข้ามาในวัด-เขตอภัยทาน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553

“ทั้งชีวิตที่เหลือของแม่ จะอยู่เพื่อรอคนฆ่าและคนสั่งฆ่าลูกถูกดำเนินคดี” พะเยาว์สบตาลูกสาว พูดเสียงนิ่งเรียบ

รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2560


‘รางวัลดีเด่น’ ด้านข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์

อันวาร์ ปาตานี แม่น้ำจระเข้

โดย ธิติ มีแต้ม

หลังจากได้รับอิสรภาพ ‘อันวาร์’ เล่าให้เราฟังว่าทหารมาขอจับมือด้วยรอยยิ้มและถามว่าเป็นมือยิงหรือมือวาง !

คงไม่ใช่เรื่องน่าสนุกนัก หากชีวิตคนหนุ่มคนหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำหน้าที่สื่อมวลชนอิสระ และนักเคลื่อนไหวสันติภาพในบ้านเกิดตัวเอง กลับถูกคุมขังในคดีอั้งยี่ซ่องโจร เป็นแนวร่วมก่อการร้าย และได้รับการพ่วงเป็นแกนนำก่อจลาจลเผาคุกจากฝ่ายความมั่นคงในเวลาต่อมา

มีกุญแจหลายดอกที่ช่วยไขเหตุการณ์ความไม่สงบที่สามารถนำไปสู่ความเข้าใจอันเป็นพื้นฐานของสันติสุขได้ ‘อันวาร์’ อาจเป็นกุญแจดอกหนึ่ง

‘อันวาร์’ คือใคร ชีวิตชายหนุ่มคนหนึ่งเป็นภาพสะท้อนของปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความมั่นคง และกระบวนการยุติธรรมอย่างไร

‘ธิติ มีแต้ม’ ส่งมอบกุญแจให้อยู่ในมือคุณแล้ว เชิญไขได้ตามอัธยาศัย

Recruitment

'วันโอวัน' มุ่งมั่นทำงานสร้างสรรค์และสื่อสารความรู้อย่างมีคุณภาพบนวิถีการทำงานแบบมืออาชีพ
เรามองหาเพื่อนร่วมงานที่เชื่อมั่นในการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยความรู้
สนุกกับการสื่อสารงานวิชาการอย่างสร้างสรรค์
และมุ่งมั่นในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประกอบตัดสินใจอย่างดีที่สุด
หากคุณคิดว่า 'ใช่' และอยากร่วมงานกับเรา ติดต่อทีมงาน 'วันโอวัน' ได้เลย!

คลิกเพื่อสมัครงานหรือฝึกงาน

สำหรับผู้สนใจส่งผลงานเพื่อตีพิมพ์ใน The101.world ในรูปแบบบทความ บทสัมภาษณ์ สารคดี วิดีโอ ภาพถ่าย
อินโฟกราฟิก และงานสื่อสารความรู้ในรูปแบบอื่นๆ สามารถส่งผลงานมาได้ที่

[email protected]

Collaboration

‘วันโอวัน’ มุ่งมั่นทำงานสื่อสารความรู้ที่มีคุณภาพสูง เรากำลังมองหาเพื่อนร่วมงานที่มีจุดมุ่งหมายและมุมมองเดียวกันกับเรา

หากคุณคิดว่าใช่และอยากร่วมงานกับเรา เราพร้อมยินดีต้อนรับเข้าสู่โลก ‘วันโอวัน’

คลิกเพื่อสมัครงานหรือฝึกงาน

หากคุณต้องการส่งผลงานทั้งในรูปแบบงานเขียน งานภาพ และงานสื่อสารความรู้ในรูปแบบอื่นๆ ใน The101.world

สามารถส่งรายละเอียดมาได้ที่

[email protected]

Advertorial

'วันโอวัน' สนใจความรู้ที่รายล้อมอยู่รอบตัว
ทั้งเหตุการณ์รอบโลก การเมือง เศรษฐกิจ ประเด็นสังคม ไลฟ์สไตล์และวัฒนธรรม

'วันโอวัน' ทำงานสร้างสรรค์และสื่อสารความรู้ในหลากหลายรูปแบบ ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม

สนใจติดต่อโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มของ 'วันโอวัน'

ส่งรายละเอียดเพื่อขอเรทการ์ดได้ ที่นี่

Project

‘วันโอวัน’ มีประสบการณ์การทำงานด้านการจัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ งานเพิ่มพลังความรู้ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และงานวิจัยนโยบายสาธารณะ ในรูปแบบต่างๆ เช่น

– บริหารโปรเจ็กต์จัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยนำเสนอผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย เช่น รายการโทรทัศน์และออนไลน์ เว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย อินโฟกราฟิก ภาพถ่ายเชิงข่าวและสารคดี คลิปความรู้ อีเวนท์ความรู้ เสวนาสาธารณะ สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น
– ผลิตสารคดี ที่มุ่งให้ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และร่วมนำความเปลี่ยนแปลงสู่สังคม
– ทำงานวิจัยและพัฒนาข้อมูล เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการสื่อสารความรู้ในรูปแบบและช่องทางต่างๆ

สนใจทำงานสร้างสรรค์และสื่อสารความรู้ ร่วมกับ ‘วันโอวัน’ สามารถติดต่อได้ที่

คุณสุภาวดี โทร. 065-9872886 อีเมล  [email protected]

ตัวอย่างผลงานของเรา

งานจัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ

งานผลิตสารคดี และคลิปความรู้

งานวิจัยและพัฒนาข้อมูล

Project

‘วันโอวัน’ มีประสบการณ์การทำงานด้านการจัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ งานเพิ่มพลังความรู้ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และงานวิจัยนโยบายสาธารณะ ในรูปแบบต่างๆ เช่น

– บริหารโปรเจ็กต์จัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยนำเสนอผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย เช่น รายการโทรทัศน์และออนไลน์ เว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย อินโฟกราฟิก ภาพถ่ายเชิงข่าวและสารคดี คลิปความรู้ อีเวนท์ความรู้ เสวนาสาธารณะ สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น
– ผลิตสารคดี ที่มุ่งให้ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และร่วมนำความเปลี่ยนแปลงสู่สังคม
– ทำงานวิจัยและพัฒนาข้อมูล เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการสื่อสารความรู้ในรูปแบบและช่องทางต่างๆ

สนใจทำงานสร้างสรรค์และสื่อสารความรู้ ร่วมกับ ‘วันโอวัน’ สามารถติดต่อได้ที่

คุณสุภาวดี โทร. 065-9872886 อีเมล  [email protected]

ตัวอย่างผลงานของเรา

งานจัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ

งานผลิตสารคดี และคลิปความรู้

งานวิจัยและพัฒนาข้อมูล